ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๕๙
โดย ศูนย์ประชาสัมพันธ์ กอ.รมน.ภาค ๔ สน.
เดือนรอมฎอน เดือนแห่งการถือศีลอดตามศาสนาอิสลาม ปีนี้เริ่มต้นวันที่
๗ เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๙ ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะงดเว้นจากการรับประทานอาหาร
และดื่มน้ำ รวมทั้งการกระทำที่จะนำไปสู่ความเสื่อม รักษาร่างกายจิตใจให้บริสุทธิ์ เปรียบประดุจการเตรียมตัวเข้าเฝ้าพระผู้เป็นเจ้าเพื่อรับความเมตตาและอภัยโทษ
อีกทั้งมุ่งมั่น ทำความดีเพื่อรับผลตอบแทนด้วยผลบุญที่มากกว่าเดือนอื่นๆ เป็นทวีคูณ
ถือเป็นเดือนอันประเสริฐที่ชาวมุสลิมทั้งหลายต่างรอคอย
จังหวัดชายแดนภาคใต้ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
มีความศรัทธาและปฏิบัติกันมาอย่างต่อเนื่องยิ่งปัจจุบันความตื่นตัวในการปฏิบัติของประชาชนมีมากขึ้น
ซึ่งจะเห็นได้จากการออกมาร่วมละหมาดในเวลากลางคืน ในมัสยิดทุกแห่ง นำความเปลี่ยนแปลงสู่วิถีชีวิตและวิถีสังคมที่นิยมปฏิบัติและศรัทธาในศาสนาอย่างน่าชื่นชม
อย่างไรก็ตามก็มีสิ่งที่น่าเป็นห่วงเกิดขึ้น คือ ในห้วง ๓ – ๔ ปี ที่ผ่านมา เดือนรอมฎอน
จะถูกนำมาเชื่อมโยงกับเหตุรุนแรง ที่ ผู้ไม่หวังดีพยายามสร้างสถานการณ์โดยไม่คำนึงถึงคุณค่าและความสำคัญของเดือนรอมฏอน
ทั้งนี้ก็เพื่อทำลายความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อภาครัฐ รวมทั้งสื่อมวลชนเองมักนำเสนอข่าวในเชิงเปรียบเทียบทางสถิติ
ทำให้เดือนรอมฎอนกลายเป็นเดือนแห่งการติดตามและเฝ้าระวังการก่อเหตุร้าย ส่งผลให้ภาพลักษณ์และคุณค่าของเดือนรอมฎอน
ต้องด่างพร้อยและหม่นหมอง ผู้นำศาสนาและกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔
ส่วนหน้า รวมทั้งส่วนราชการต่างๆ ได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกันเพื่อรักษาคุณค่าและความบริสุทธิ์ไว้
อีกทั้งเพื่อรักษาความสงบสุขให้ประชาชนสามารถปฏิบัติกิจสำคัญได้อย่างสมบูรณ์
จึงได้ร่วมกันกำหนดมาตรการต่างๆ ขึ้นทั้งด้านการป้องกันเหตุร้าย การอำนวยความสะดวก
และการส่งเสริม รวมทั้งประชาสัมพันธ์เชิญชวนพี่น้องมุสลิมร่วมประกอบศาสนกิจได้อย่างมั่นใจและพร้อมเพรียง
ส่วนด้านการส่งเสริม
ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้สนับสนุนปัจจัยในการละศีลอด เช่น ข้าวสาร
น้ำตาล รวมทั้งผลอินทผาลัม ให้กับมัสยิด ซึ่งในปีที่ผ่านมาได้สนับสนุนเงินเป็นค่าเลี้ยงอาหารละศีลอด
สำหรับผู้ที่เอี๊ยะติกัฟพักแรมในมัสยิด ๑๐ วันสุดท้ายด้วย ส่วนราชการอื่นๆ ทั้งในระดับจังหวัด
อำเภอ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ได้แจกจ่ายปัจจัยต่างๆ ไปยังประชาชนจนถึงครัวเรือน
รวมทั้งให้บริการด้านสุขภาพโดยศูนย์แพทย์ทหารบกจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่คอยให้คำแนะนำ
และรักษาสุขภาพให้กับประชาชนที่เจ็บป่วย ทั้งใน ที่ตั้งและพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมละศีลอดในช่วงรอมฎอน
สืบเนื่องกันมาจนกลายเป็นวัฒนธรรม
ด้านการประชาสัมพันธ์
ได้มีการประชาสัมพันธ์เชิญชวน พี่น้องมุสลิมร่วมปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอนผ่านสื่อต่างๆ
รวมทั้งจัดทำปฏิทินแสดงเวลาละศีลอดในแต่ละวัน แจ้งเตือนเวลาละศีลอดทางวิทยุกระจายเสียงในแต่ละจังหวัดเป็นประจำทุกวัน
และที่สำคัญได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนผู้ที่หลบหนีจากการถูกสงสัยให้เข้ารายตัวกลับมาร่วมปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอนกับครอบครัว
และเข้าร่วมโครงการพาคนกลับบ้าน ซึ่งหลายปีที่ผ่านมามีผู้ต้องสงสัยตามหมายต่างๆ กลับเข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
และที่สำคัญได้จัดให้มีพิธีละหมาดฮายัต ขอพรให้ปราศจากเหตุรุนแรงในช่วงรอมฎอน และออกแถลงการณ์เชิญชวนแนะนำให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง
พร้อมจัดเวทีเสวนาในหัวข้อเกี่ยวกับความสำคัญของเดือนรอมฎอน
เผยแพร่ผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียง และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ทั่วประเทศ
เช่นเดียวกับปีนี้
พลโท วิวรรธน์ ปฐมภาคย์ แม่ทัพภาคที่ ๔/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค ๔ ได้ให้ความสำคัญโดยสั่งการให้เตรียมการตั้งแต่ก่อนเข้าเดือนรอมฎอน
ซึ่งได้มีการประชุมประสานงานกับส่วนที่เกี่ยวข้องในการจัดกิจกรรมในทุกด้าน รวมทั้งด้านการประชาสัมพันธ์โดยจัดทำแผนปฏิบัติต่างๆ
เช่น วันที่ ๓๐ พฤษภาคม จัดให้มีการแถลงข่าวเชิญชวนประชาชนร่วมละหมาดฮายัต ณ
มัสยิดกลางจังหวัดปัตตานี ในวันที่ ๑ เดือนมิถุนายน ๒๕๕๙ พร้อมรับฟังแถลงการณ์ร่วม
และการเสวนาของผู้นำศาสนา
ซึ่งการเสวนาในปีนี้ มีผู้นำศาสนาและนักวิชาการร่วมเสวนาจำนวน ๓ ท่าน ประกอบด้วย ดร.อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดร.วิสุทธิ์ บินล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี และนายอับดุลฮาซิส กาแบ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา หัวข้อ “รอมฎอนสันติสุข คืนความสุขสู่ชายแดนใต้” โดยเวทีเสวนาชี้ให้เห็นว่า การถือศีลอดด้วยการงดการกระทำความชั่ว มีความตักวา (ความศรัทธาที่แท้จริง) เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ที่จะกระทำความผิด และผลของความมุ่งมั่นทำความดีมีความเมตตาปฏิบัติตามหลักการศาสนาและแบบอย่างของศาสดา ซึ่งนอกจากทำให้รับผลตอบแทนด้วยผลบุญอันมหาศาลแล้ว ยังส่งผลต่อความสงบสุขต่อตนเอง ต่อชุมชมปราศจากเหตุร้ายรุนแรง เป็นสังคมสมานฉันท์นำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง พร้อมนี้ ผู้นำศาสนาได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์เชิญชวนพี่น้องชาวไทยมุสลิมร่วมปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอน อย่างเคร่งครัด ลด ละ เลิก สิ่งอบายมุข ตลอดจนการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายต่อสังคม ปฏิบัติตนตั้งมั่นในความดี ตลอดเดือนรอมฎอน และตลอดไป
ซึ่งการเสวนาในปีนี้ มีผู้นำศาสนาและนักวิชาการร่วมเสวนาจำนวน ๓ ท่าน ประกอบด้วย ดร.อิสมาแอลลุตฟี จะปะกียา อธิการบดีมหาวิทยาลัยฟาฏอนี ดร.วิสุทธิ์ บินล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานสำนักจุฬาราชมนตรี และนายอับดุลฮาซิส กาแบ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา หัวข้อ “รอมฎอนสันติสุข คืนความสุขสู่ชายแดนใต้” โดยเวทีเสวนาชี้ให้เห็นว่า การถือศีลอดด้วยการงดการกระทำความชั่ว มีความตักวา (ความศรัทธาที่แท้จริง) เกรงกลัวต่ออัลลอฮฺ ที่จะกระทำความผิด และผลของความมุ่งมั่นทำความดีมีความเมตตาปฏิบัติตามหลักการศาสนาและแบบอย่างของศาสดา ซึ่งนอกจากทำให้รับผลตอบแทนด้วยผลบุญอันมหาศาลแล้ว ยังส่งผลต่อความสงบสุขต่อตนเอง ต่อชุมชมปราศจากเหตุร้ายรุนแรง เป็นสังคมสมานฉันท์นำสันติสุขสู่จังหวัดชายแดนภาคใต้นั่นเอง พร้อมนี้ ผู้นำศาสนาได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์เชิญชวนพี่น้องชาวไทยมุสลิมร่วมปฏิบัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอน อย่างเคร่งครัด ลด ละ เลิก สิ่งอบายมุข ตลอดจนการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายต่อสังคม ปฏิบัติตนตั้งมั่นในความดี ตลอดเดือนรอมฎอน และตลอดไป
เป็นที่น่ายินดีว่าหลังการเข้าสู่เดือนรอมฎอน
ในช่วง ๓ สัปดาห์แรก ของปีที่ผ่านมา ไม่ปรากฏเหตุรุนแรงใดๆ การปฏิบัติศาสนกิจเป็นไปอย่างสงบสุข
สร้างความรู้สึกยินดีให้กับทุกฝ่าย นับว่าเป็นห้วงระยะเวลาที่เงียบสงบยาวนานที่สุดเท่าที่เคยมีมานับจากปี
๒๕๔๗ กล่าวได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น ในการลดลงของความรุนแรงมาจนปัจจุบัน
และเชื่อว่าเดือนรอมฎอนปีนี้ จะเป็นช่วงแห่งความสงบสุขอีกครั้งหนึ่ง
ตามที่ทุกฝ่ายรอคอย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น